วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ระบบย่อยของระบบสารสนเทศ


ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
(MIS Subsystems)

1. ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
        เราสามารถกล่าวได้ว่าหน้าที่หลักของ MIS คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งภายใน และภายนอกองค์การมาไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อทำการประมวลผลและจัดรูปแบบข้อมูลให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสม และจัดพิมพ์เป็นรายงานส่งต่อให้ผู้ใช้ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจและบริหารงานของเขาให้มีประสิทธิภาพ ถ้าพิจารณาในรายละเอียดหรือตามสภาพความเป็นจริงขององค์การ การที่ธุรกิจจะได้มาซึ่งสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร จะต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติของแต่ละส่วนย่อย ๆ ในระบบแตกกระจายออกไป เพื่อรับผิดชอบการทำงานเฉพาะในแต่ละหน้าที่ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ ซึ่งเราสามารถกล่าวว่า กลุ่มของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS Subsystems) โดยที่เราสามารถแบ่งระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการออกตามหน้าที่งานในองค์การได้เป็น 4 ระบบ ต่อไปนี้
        1. ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (Transaction Processing System) หรือที่เรียกว่า TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การ โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ โดยเฉพาะปัจจุบันที่การดำเนินงานในแต่ละวันมักจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างสะดวก รอดเร็ว และสามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ TPS ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศมาอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องในอนาคต
        2. ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ (Management Reporting System) หรือที่เรียกว่า MRS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบและจัดทำรายงาน หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร โดยที่ MRS จะจัดทำรายงานหรือเอกสาร และส่งต่อไปยังฝ่ายจัดการตามระยะที่กำหนด หรือตามความต้องการของผู้บริหาร เนื่องจากรายงานที่ถูกจัดทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วการทำงานของระบบจัดออกรายงานสำหนับการจัดการจะถูกใช้สำหรับการวางแผน การตรวจสอบ และการควบคุมการจัดการ
        3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Supporting System) หรือที่เรียกว่า DSS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่จัดหารหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง (Semi-structure) และไม่มีโครงสร้าง (Nonstructure) ซึ่งยากต่อการวางแนวทางรองรับ หรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประการสำคัญ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร แต่จะจัดหาและประมวลสารสนเทศ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นในการตัดสินใจกับผู้บริหาร ปัจจุบัน DSS ได้รับการพัฒนาและนำไปใช้ในองค์การ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากบุคคลจากหล่ายฝ่ายและเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริหาร ซึ่งเราจะนำเสนอรายละเอียดในบทต่อไป
        4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System) หรือที่เรียกว่า OIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพโดย OIS จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานในสำนักงานเกิดผลสูงสุด หรือเราสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ระบบสารสนเทศสำนักงานมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานภายในองค์การเดียวกัน และระหว่างองค์การ รวมทั้งการติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ
        ความต้องการใช้งานสารสนเทศที่หลากหลายในองค์การ ทำให้ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการแตะละประเภทจะมีวัตถุประสงค์ ส่วนประกอบ และการใช้งานที่แตกต่างกัน นอกจากนี้แต่ละระบบยังทวีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นความจำเป็นที่ผู้ศึกษาด้านบริหาระธุรกิจและการจัดการระบบสารสนเทศจะต้องทำความเข้าใจในคุณสมบัติการทำงาน และส่วนประกอบของระบบย่อย เพื่อให้สามารถนำความรู้ และความเข้าใจไปใช้งานได้จริง ประการสำคัญคือสามารถบูรณาการระบบย่อยภายในองค์การให้สอดคล้องกันและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ



ความหมายและความสําคัญของระบบบัญชี
ส่วนประกอบของระบบบัญชี
ประเภทของงานวางระบบบัญชี
คุณสมบัติและผู้เกี่ยวข้องกบงานวางระบบบัญชี ัความหมายและความสําคัญของระบบบัญชี
ระบบบัญชี (Accounting System) หมายถึง  ระบบการจัดเกบรวบรวมข้อมูลทางการเงินที่ ็
เป็นเอกสารต่างๆ ทางด้านบัญชี รายงานทางการเงินที่เป็นหลักฐานด้านบัญชี วิธีการ
ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการบันทึกบัญชีที่ได้นํามาใช้ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ
การดําเนินงาน เพื่อช่วยให้กิจการสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อยางมีประสิทธิภาพ และเสนอ ่
ข้อมูลต่อผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพนักงานที่ทําหน้าที่ปฏิบัติงานตามระบบบัญชีที่มีคุณสมบัติ
เหมาะสมในการทํางานมีความรู้ความสามารถ
เป็นเครื่องทุ่นแรงในการปฏิบัติงานบัญชีให้รวดเร็วและถูกต้อง
เช่น คอมพิวเตอร์ พิมพ์ดีด เครื่องคํานวณ เครื่องถ่ายเอกสาร
แบบฟอร์ม, สมุดบันทึกรายกรขั้นต้น, สมุดบัญชีแยกประเภท,
ทะเบียนต่างๆ, รายงานหรืองบการเงินต่างๆ
ส่ วนประกอบของระบบบัญชี
การปฏิบัติงานเกี่ยวกบการใช้แบบฟอร์ม การบันทึกข้อมูล   ั
ตลอดจนการจัดทํารายงานต่างๆ ซึ่งต้องมีขั้นตอน และวิธีการ
ที่ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องและรวดเร็ว
ส่วนประกอบ
ของระบบบัญชี
เอกสาร
ทางการบัญชี
เครื่ องมือและอุปกรณ์
ในการลงบัญชี
บุคลากรที่ปฏิบัติงาน
ในระบบบัญชี
วิธีการต่างๆ
ในการดําเนินงานประเภทของงานระบบบัญชี
วางระบบบัญชีใหม่ทั้งระบบ
ขยายระบบบัญชีให้ครอบคลุมธุรกิจ
การปรับปรุงระบบบัญชีให้ดีขึ้นและทันสมัยทําให้มีการควบคุม
การทํางานให้รัดกุม
ย ิงขึ ่ ้น
ลดต้นทุนของการจด
บันทึกและรายงาน
ข้อมูลให้ตํ่าลง
แกปัญหาความ ้
ล่าช้าในการ
รายงานข้อมูล
ระบบบัญชีใหม่จะต้อง
     ผู้วางระบบจะต้องจัดทําคูมือการปฏิบัติงานของระบบบัญชีทั ่ ้งหมดให้แก่กิจการเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน
สามารถนํามาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้ และในการนํามาใช้หากเห็นวามีขั ่ ้นตอนใดไม่
เหมาะสมกสามารถแก ็ ไขโดยผู้ปฏิบัติงาน และผู้วางระบบบัญชีจะต้องปรึกษาหารือก ้ นเพื่อแก ั ไขและ ้
นําไปใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป
     งานวางระบบบัญชีตามที่ได้รับมอบหมายจะต้องใช้เวลาในการศึกษาสภาพโดยทั่วไปและช่วง
การวางระบบบัญชีพอสมควร
การวางระบบบัญชีที่ดีคุณสมบัติของผู้วางระบบบัญชี http://www.krutechnic.com/files/unit1.pdf

การจัดซื้อ  (Purchasing)
                 ในการผลิตสินค้าขององค์การอุตสาหกรรมหนึ่ง ๆ  จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีวัตถุดิบหรือพัสดุต่าง ๆ  อย่างเพียงพอไม่น้อยเกินไปหรือมากเกินไป  เพราะถ้าหากมีวัตถุดิบน้อยเกินไปอาจทำให้วัตถุดิบขาดมือ  และถ้าหากมีวัตถุดิบมากเกินไป  จะทำให้มีค่าจ่ายสูงเกินความจำเป็น  และจะส่งผลต่อราคาสินค้าต่อหน่วยที่จะมีราคาสูงตามด้วย  ในทางการบริหารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้วัตถุดิบมีเพียงพอต่อการผลิต การจัดซื้อและการบริหารเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง  จึงเป็นงานหลักอย่างหนึ่งในการประกอบธุรกิจ
                  ความหมายของการจัดซื้อ  (Define  of  purchasing)
                  การจัดซื้อ  (Purchasing)  หมายถึง  การดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบ  วัสดุ  และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นโดยมีคุณสมบัติ  ปริมาณ  ราคา  ช่วงเวลา  แหล่งขาย  และการนำส่ง    สถานที่ถูกต้อง  (ปราณี  ตันประยูร, 2537 : 137)
                  วัตถุประสงค์ของการจัดซื้อ  (Objective  of  Purchasing)
    1.  เพื่อให้มีวัตถุดิบและวัสดุอื่น ๆ ในการผลิตอย่างเพียงพอ
    2.  เพื่อรักษาคุณสมบัติของวัตถุดิบที่จัดซื้อให้ได้มาตรฐานเดียวกัน
    3.  เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียหาย และความล้าสมัยวัตถุดิบ
    4.  เพื่อให้กิจการมีกำไร  มีต้นทุนในการจัดซื้อต่ำวัตถุดิบที่ใช้เพียงพอ
    5.  หลีกเลี่ยงปัญหาพัสดุซ้ำกัน
 กลยุทธ์การจัดซื้อ
                  ในการจัดซื้อวัสดุนั้น  บริษัทเป็นฝ่ายผู้ซื้อ  เจ้าของแหล่งวัสดุเป็นฝ่ายผู้ขาย  ฝ่ายใดมีอำนาจการต่อรองสูงฝ่ายนั้นจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ  เพื่อป้องกันมิให้เสียเปรียบบริษัทจึงต้องพยายามรักษาดุลยภาพของอำนาจในการต่อรองเอาไว้  ซึ่งอาจทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้

                  1.  การกระจายการจัดซื้อวิธีหนึ่งในการป้องกันมิให้อำนาจในการต่อรองต่ำกว่าผู้ขายได้แก่การกระจายการจัดซื้อไปยังผู้ขายที่ผ่านการคัดเลือกแล้วหลาย ๆ ราย  ปริมาณการสั่งซื้อที่กระจายให้แก่ผู้ขายแต่ละรายต้องมากพอที่จะทำให้เห็นคุณค่าว่าควรติดต่อค้าขายกับผู้ซื้อในระยะยาว   ขณะเดียวกันถ้าฝ่ายผู้ขายเสนอให้ส่วนลดเพราะซื้อจำนวนมาก  ก็ควรนำเข้ามาประกอบการพิจารณาการจายการซื้อด้วย  การกระจายการซื้อนั้น   นอกจากจะป้องกันมิให้อำนาจในการต่อรองตกต่ำแล้วยังอาจทำให้มีอำนาจนี้เพิ่มขึ้นอีกก็ได้

                  2.  การสร้างแหล่งซื้อเพิ่มเติม  วิธีนี้นิยมนำมาใช้ในกรณีบริษัททำการประเมินคุณสมบัติต่าง ๆ แล้วปรากฏว่ามีผู้ขายผ่านเกณฑ์การประเมินได้จำนวนน้อย  การใช้กลยุทธ์การกระจายการซื้อไม่ให้ความมั่นใจเท่าที่ควร  จึงจำเป็นต้องสร้างแหล่งซื้อเพิ่มเติมขึ้นมา  ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี  เช่น  ให้คำแนะนำทางเทคนิคแก่ผู้ขายที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินเนื่องจากเกณฑ์ทางด้านคุณภาพแต่มีศักยะว่าจะปรับปรุงได้  ทำสัญญาซื้อล่วงหน้ากับผู้ขายที่ฐานะทางการเงินไม่มั่นคงพอที่จะลงทุนผลิตวัสดุมาส่งมอบให้ตรงเวลา  เป็นต้น

                  3.  การหลีกเลี่ยงต้นทุนการเปลี่ยนแหล่งซื้อ  ผู้ขายหลายรายใช้วิธีให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรม  เครื่องจักร  หรือทางด้านอื่น ๆ  โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพื่อให้ฝ่ายผู้ซื้อตกเป็นทาสทางเทคนิคหรือระบบการผลิต  เพราะความช่วยเหลือเช่นว่านั้นทำให้ต้องซื้อวัสดุเกี่ยวเนื่องอื่น ๆจากผู้ให้ความช่วยเหลือนั่นเองเมื่อได้รับข้อเสนอให้เปล่าในทำนองนี้ฝ่ายผู้ซื้อต้องพิจารณาโดยรอบคอบเพราะอาจก่อให้เกิดต้นทุนอย่างมหาศาลในอนาคตได้

                  4.  การกำหนดมาตรฐานวัสดุผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นมาตรฐานเดียวกันจะมีเกณฑ์กำหนดตรงกันเสมอ  สามารถใช้แทนกันได้  ถ้าผู้ประกอบการทุกรายที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน   สามารถกำหนดมาตรฐานวัสดุร่วมกันออกมาได้   จะทำให้อำนาจต่อรองของฝ่ายผู้ขายแต่ละรายลดลงมาในระดับหนึ่ง  เพราะทางฝ่ายผู้ซื้อจะซื้อจากผู้ขายรายใดก็ได้  เนื่องจากวัสดุใช้แทนกันได้   อีกทั้งต้นทุนการเปลี่ยนแหล่งซื้อไม่มี

                  5.  การรวมตัวย้อนหลัง  เป็นลักษณะของการขยายธุรกิจแบบหนึ่ง  วิธีการคือ  ก้าวจากการเป็นผู้ผลิตอยู่เดิมไปเป็นเจ้าของแหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอีกธุรกิจหนึ่ง  วิธีนี้ย่อมทำให้อำนาจต่อรองของฝ่ายผู้ขายลดลงเพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มแหล่งซื้อของฝ่ายผู้ซื้อแล้วยังเป็นการเพิ่มคู่แข่งขันแก่ฝ่ายผู้ขาย  วิธีแม้จะผลิตวัตถุดิบเองบางส่วน  ซื้อจากผู้ขายบางส่วน  ก็ยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิผล     บางครั้งแม้แต่เพียงการศึกษาโครงการที่จะก้าวเข้าไปเป็นเจ้าของแหล่งวัตถุดิบอย่างเปิดเผย  ก็อาจเป็นการป้องปรามพฤติกรรมการขายที่ไม่ดีของฝ่ายผู้ขายได้

                  6.  การเร่งรัดการจัดซื้อ  เป็นการแสดงให้ฝ่ายผู้ซื้อได้ติดตามตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานของฝ่ายผู้ขาบอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา  ทำให้ฝ่ายผู้ขายไม่กล้าบิดพลิ้ว  วิธีนี้ใช้กันมากในกรณีจ้างทำของที่มีเกณฑ์กำหนดแตกต่างไปจากมาตรฐานในท้องตลาด  เช่น  จ้างให้ผลิตเครื่องจักรที่ออกแบบเป็นพิเศษ  ฝ่ายผู้ซื้อจะส่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าไปติดตามผลถึงสถานที่ผลิตเลยทีเดียว  ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจว่า

                     -  คำสั่งซื้ออย่างเป็นทางการได้ไปถึงผู้ขายแล้ว  และกำลังมีการจัดการตามใบสั่งซื้อนั้น
                     -  หากเป็นการจ้างทำของ  ต้องแน่ใจว่าผู้รับจ้างได้สั่งให้โรงงานทำการผลิตแล้ว  โดยผู้เร่งรัดการจัดซื้ออาจขอเลขที่ใบสั่งงาน  ชื่อผู้ควบคุมการผลิตและสถานที่ติดต่อ   เพื่อใช้อ้างอิงและติดต่อสอบถามความก้าวหน้าของงาน
                     -  ฝ่ายผู้ขายไม่มีอุปสรรคใด ๆ มาขัดขวางจนต้องระงับการดำเนินการตามใบสั่งซื้อไว้แม้ชั่วคราว  ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจว่าฝ่ายผู้ซื้อจะได้รับสิ่งของตามกำหนดเวลา
                     -  ความก้าวหน้าของงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ทุกประการ  ผู้ที่จะเร่งรัดการจัดซื้อได้ดี  ต้องมีความรู้ความสามารถ  มีความแยบยลในการเจรจา  และมีความกล้าพอที่จะแนะนำผู้ขาย  ให้จัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
                   ความรับผิดชอบของแผนกจัดซื้อ  (Responsibility  of  purchasing  section)
                   เมื่อองค์การมีความจำเป็น  ที่จะต้องมีการซื้อ  (Purchasing)  แผนกจัดซื้อหรือแผนกจัดซื้อ  จะต้องพยายามจัดซื้อให้ดีที่สุด  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดซื้อ  โดยการจัดซื้อที่ดีที่สุดจะต้องคำนึงถึงประเด็นสำคัญ  ดังนี้
    1.  คุณสมบัติที่ถูกต้อง
    2.  ปริมาณที่ถูกต้อง
    3.  ราคาที่ถูกต้อง
    4.  ช่วงเวลาที่ถูกต้อง
    5.  แหล่งขายที่ถูกต้อง
    6.  การนำส่งที่ถูกต้อง
                   วิธีปฏิบัติในการจัดซื้อ  (Procedure  in  purchasing)
                   การจัดซื้อวัสดุเพื่อนำมาใช้ในการผลิตและการดำเนินงานของธุรกิจเป็นภาระกิจที่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง  การปฏิบัติงานในช่วงหนึ่ง ๆ จะเกี่ยวพันกับการจัดซื้อหลาย ๆ รายการ  แต่ละรายมีความแตกต่างในด้านคุณสมบัติ  ราคา  จำนวน  แหล่งขาย  การปฏิบัติการจัดซื้อมีหลายขั้นตอน  แต่ละขั้นตอนมีเอกสารที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก  ด้วยเหตุนี้การจัดซื้อจึงต้องใช้แรงงาน  เวลาและต้นทุนสูง การจัดระบบปฏิบัติในการสั่งซื้ออย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้การจัดซื้อดำเนินไปด้วยความคล่องตัว และถูกต้องเหมาะสม
                   ระบบปฏิบัติในการจัดซื้อของแต่ละกิจการย่อมแตกต่างกันไป  เนื่องจากแต่ละกิจการมีความแตกต่างกันไปในนโยบาย  สินค้าและบริการที่ผลิต  ทรัพยากรต่าง ๆ  ดังนั้นจึงไม่สามารถกำหนดรูปแบบที่ดีได้แน่นอนตายตัว   แต่โดยทั่วไประบบปฏิบัติในการจัดซื้อที่สมบูรณ์จะประกอบด้วยขั้นตอนพื้นฐาน  ดังนี้  (อ้างจาก  จุลศิริ  ศรีงามผ่อง, 2536, หน้า 6-7) 
                 1.  รับการวิเคราะห์ใบขอให้ซื้อ  (Purchase  Requisition)  ซึ่งจะวิเคราะห์ถึงประเภทของสิ่งของและจำนวนที่ซื้อ
                 2.  ศึกษาถึงสภาตลาด  แหล่งที่จะจัดซื้อ  และผู้ขาย
                 3.  ส่งใบขอให้เสนอราคา  (Request  for  Quotations)  ไปยังผู้ขายหลาบ ๆ แหล่ง  
                 4.  รับและวิเคราะห์ใบขอให้เสนอราคาจากผู้ขาย
                 5.  เลือกผู้ขายที่เสนอราคาและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ดีที่สุด
                 6.  คำนวณราคาของสิ่งของที่จะสั่งซื้อให้ถูกต้อง
                 7.  ส่งใบสั่งซื้อ  (Purchase  Order)  ไปยังผู้ขายที่ต้องการจะซื้อ
                 8.  ติดตามผลให้เป็นไปตามที่ได้ติดต่อหรือตามสัญญา
                 9.  วิเคราะห์รายงานการรับรองของ
                10. วิเคราะห์และตรวจสอบใบกำกับสินค้า  (Invoice)  ของผู้ขายเพื่อการจ่ายเงิน



ระบบการผลิต

          การผลิตเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาจากการใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ การดำเนินการผลิตจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของการกระทำก่อนหลัง กล่าวคือ จากวัตถุดิบที่มีอยู่จะถูกแปลงสภาพให้เป็นผลผลิตที่อยู่ในรูปตามต้องการ เพื่อให้การผลิตบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดการให้อยู่ในรูปของระบบการผลิต ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ ปัจจัยการผลิต (input) กระบวนการแปลงสภาพ (conversion process) และผลผลิต (output) ที่อาจเป็นสินค้า และบริการ 

          การผลิตที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านปริมาณ คุณภาพ เวลา และราคา ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องนำมารวมไว้ในระบบการผลิต โดยมีการวางแผนและควบคุมการผลิตเป็นแกนกลาง กิจกรรมต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบการผลิตนั้นสามารถจำแนกได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ การวางแผน (planning) การดำเนินงาน (operation) และการควบคุม (control)
          1. การวางแผน เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ และวางแผนการใช้ทรัพยากรให้ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในแผนการผลิตจะกำหนดเป้าหมายย่อยไว้ในแผนกต่าง ๆ ในเทอมของเวลาที่กำหนดไว้ก่อนล่วงหน้า และจากเป้าหมายย่อย ๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นเหล่านี้ ถ้าประสบผลสำเร็จก็จะส่งผลไปยังเป้าหมายที่ต้องการ
          2. การดำเนินงาน เป็นขั้นตอนของการดำเนินการ จะเริ่มต้นได้ก็ต่อเมื่อรายละเอียดต่าง ๆ ในขั้นตอนการวางแผนได้ถูกกำหนดไว้ในแผนการผลิตเรียบร้อยแล้ว
          3. การควบคุม เป็นขั้นตอนของการตรวจตราให้คำแนะนำและติดตามผลเกี่ยวกับการดำเนินงาน โดยใช้การป้อนกลับของข้อมูล (feed back information) ในทุก ๆ ขณะที่งานก้าวหน้าไป ผ่านกลไกการควบคุม (control mechanism) โดยที่กลไกนี้จะทำหน้าที่ปรับปรุงแผนงาน และเป้าหมายเพื่อให้เป็นที่เชื่อแน่ได้ว่าจะบรรลุเป้าหมายหลัก

ระบบการผลิตและการปฏิบัติการ
          ระบบการผลิตและการปฏิบัติการ ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ  5 ส่วน ซึ่งได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการผลิตและแปลงสภาพ (production or conversion process) ผลได้ (output) ส่วนป้อนกลับ (feedback) และผลกระทบจากภายนอกที่เปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้คาดหมาย  (random  fluctuations)

          ปัจจัยนำเข้า คือส่วนของทรัพยากรหรือสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ ซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วย เงินทุน แรงงาน เครื่องจักร ที่ดิน วัตถุดิบ และความรู้ความสามารถในด้านการจัดการกระบวนการผลิตและแปลงสภาพ คือส่วนที่ทำหน้าที่นำเอาปัจจัยนำเข้ามาผลิต และแปลงสภาพเพื่อให้ได้เป็นสินค้าหรือบริการตามที่ต้องการ กระบวนการผลิตหรือแปลงสภาพประกอบด้วย วิธีการในการผลิตสินค้า วิธีการจัดลำดับการผลิต การวางแผนการผลิต การจัดสรรกำลังคนเพื่อการผลิต และอื่น ๆ ส่วนป้อนกลับ คือส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของกระบวนการ เพื่อให้การทำงานของระบบการผลิตบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่วนป้อนกลับนี้จะทำหน้าที่ประเมินผลได้ เช่น ปริมาณและคุณภาพของสินค้าที่ผลิตได้ นำมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่วางแผนไว้ จากผลการเปรียบเทียบจะนำไปสู่การปรับปัจจัยนำเข้าหรือกระบวนการผลิตหรือแปลงสภาพ  เพื่อสร้างผลได้ตามที่ต้องการออกมา

          การเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดหมาย ระบบการผลิตและการปฏิบัติการใด ๆ เมื่อดำเนินการอยู่อาจมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดหมายแต่มีผลกระทบต่อการดำเนินการ โดยทั่วไปการเปลี่ยนแปลงนี้จะมาจากภายนอกระบบหรือนอกองค์การ และอยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุมของผู้บริหาร ตัวอย่างเช่น สภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ อุบัติเหตุและภัยธรรมชาติ การขัดข้องเสียหายของเครื่องจักร เหล่านี้เป็นต้น




ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ(Transaction Processing Systems -TPS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจาก ธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่ เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
วัตถุประสงค์ของ  TPS
1.   มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงานหรือตามกฎหมาย เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
2.  
 เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว 
3.  
 เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความ ถูกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและรักษาความลับได้ 
4.
 เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น เช่น MRS หรือ DSS
หน้าที่ของ TPS 
1. การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2.
 การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
3.
 การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
4.
 การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
5.
 การเก็บ (Storage)  การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป

ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศแบบ TPS
·         มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก
·         แหล่ง ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็น หลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นส่วนทางการค้าอาจจะมีส่วนใน การป้อนข้อมูลและอนุญาตให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนใช้ผลที่ได้จาก TPS โดยตรง
·         กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์
·         มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก
·         มีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก
·         TPS จะคอยติดตามและรวบรวมข้อมูลภายหลังที่ผลิตข้อมูลออกมาแล้ว
·         ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมามีลักษณะมีโครงสร้างที่ชัดเจน (structured data)
·         ความซับซ้อนในการคิดคำนวณมีน้อย
·         มีความแม่นยำค่อนข้างสูง การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS
·         ต้องมีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง


กระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS มี 3 วิธี คือ 
1. Batch processing
 การประมวลผลเป็นชุดโดย การรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด (batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หรือจัดลำดับให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปประมวลผล โดยการประมวลผลนี้จะกระทำเป็นระยะๆ (อาจจะทำทุกคืน ทุก 2-3 วัน หรือทุกสัปดาห์)
2. Online processing
 คือ ข้อมูลจะได้รับการประมวลผล และทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น การเบิกเงินจากตู้ ATM จะประมวลผลและดำเนินการทันที เมื่อมีลูกค้าใส่รหัสและป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้าไปในเครื่อง
3. Hybrid systems
 เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ2) โดยอาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันที แต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูล การซื้อขายจากลูกค้าเข้าคอมพิวเตอร์ ณ จุดขายของ แต่การประมวลผลข้อมูลจากแคชเชียร์ทุกคนอาจจะทำหลังจากนั้น (เช่น หลังเลิกงาน)
Customer Integrated Systems (CIS)
               
 เป็นระบบสารสนเทศซึ่งพัฒนามาจาก TPS โดยลูกค้าสามารถป้อนข้อมูลและทำการประมวลผลด้วยตนเองได้ เช่น ATM (Automated teller machines) ซึ่งช่วยให้ลูกค้า สามารถติดต่อกับธนาคารได้ทุกที่และทุกเวลา ATMทำให้ลูกค้ามีความคล่องตัวในการเข้าถึง มากขึ้น และทำให้ธนาคารไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานจำนวนมากอีกต่อไป ซึ่งช่วยให้ธนาคารประหยัดเงินได้จำนวนหลายล้านบาทต่อปี ดังนั้นบางธนาคารจึงได้ส่งเสริมให้ลูกค้าในการใช้ ATMโดยการคิดค่าธรรมเนียมหากลูกค้าติดต่อกับพนักงานในการเบิกถอนเงิน ในลักษณะที่สามารถเบิกถอนได้กับเครื่องATM 
นอกจากงานของธนาคารแล้ว ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้นำระบบ
 CIS มาใช้เพื่อให้นักศึกษาสามารถลงทะเบียน โดยผ่านเครื่องโทรศัพท์ นอกจากนี้ CIS ยังช่วยให้ประชาชนสามารถจ่ายค่าน้ำค่าไปจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านก็ได้

หน้าที่การทำงานของ TPS
งานเงินเดือน (Payroll)                              
 การติดตามเวลาการทำงานของพนักงาน
• 
 การคิดเงินเดือน โดยมีการหักภาษี ค่าประกัน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ 
 การออกเช็คเงินเดือนหรือการโอนเงินเดือนเข้าบัญชีให้กับลูกจ้าง 
การสั่งซื้อสินค้า
 (Purchasing)             
 การสั่งซื้อหรือบริการต่างๆ
 การบันทึกข้อมูล การส่งสินค้าหรือบริการจากซัพพลายเออร์
การเงินและการบัญชี    (Finance and Accounting)                      
 
 การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ          
 การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับภาษี
 การติดตามค่าใช้จ่ายต่างๆ 
การขาย (Sales)                                   
 
 การบันทึกข้อมูลการขาย
 การออกใบเสร็จรับเงินหรือบิลส่งสินค้า 
 การติดตามข้อมูลรายรับ 
 การบันทึกการจ่ายหนี้ 
 การเก็บข้อมูลการส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า 
วัสดุคงคลัง                                        
 การติดตามการใช้วัสดุภายในหน่วยงาน(Inventory Management)      
• การติดตามระดับปริมาณของวัสดุคงเหลือ 
• การสั่งซื้อวัสดุที่จำเป็น
http://thitikorn2009.exteen.com/20090814/tpshttp://thitikorn2009.exteen.com/20090814/tps

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข่าว Information


องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)

องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)

ความหมาย :

1. องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization) หมายถึง องค์การซึ่งดำรงอยู่ด้วยเครือข่ายชั่วคราว หรือพันธมิตรของหน่วยงานที่เป็นอิสระและดำเนินการร่วมผลประโยชน์ของหน่วยงานโดยเฉพาะ
อ้างอิง: http://kc.hri.tu.ac.th/index.php?title=%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87
2. องค์การเสมือนจริงความหมายขององค์การเสมือนจริงคือ องค์การที่ใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงคน ทรัพย์สิน และความคิดต่างๆ เพื่อสร้างและกระจายสินค้าและบริการ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องขอบเขตองค์การแบบเดิมหรือข้อจำกัดในด้านสถานที่ตั้งขององค์การ
3.องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)
เรวัต แสงสุริยงค์ ความนำ การเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนและต่อเนื่องของสภาพแวดล้อมขององค์การ ทำให้องค์การต้องปรับปรุงกระบวนการทำงานประจำวันและจำเป็นต้องเตรียมวางแผนสำหรับอนาคตที่ยังไม่มาถึงไว้ล่วงหน้า ในอดีตที่ผ่านมาองค์การต่าง ๆ มักจะมีกลยุทธ์ในการรักษาความอยู่รอดในการดำเนินการต่าง ๆ โดยการผูกขาด (Monopoly) แต่ปัจจุบันในโลกเทคโนโลยีสารสนเทศ (Age of Information Technology: AIT) กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจขององค์การจะสามารถอยู่รอดได้ต้องมีความรวดเร็วในการผลิต บริการ การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และการตัดสินใจ แรงกดดันทั้งด้านสภาพแวดล้อมขององค์การและเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์การต้องปรับตัวหันมาจัดการกับโครงสร้างขององค์การใหม่ เป็นองค์การที่มีความรวดเร็ว ยืดหยุ่น ค่าใช้จ่ายคงที่ จำนวนพนักงานน้อยลง เปลี่ยนจากการผลิตแบบมวลรวม (Mass production) เป็นการผลิตในจำนวนที่พอเหมาะแต่สามารถตอบสนองความต้องการต่อลูกค้าแต่ละคน บทบาทและหน้าที่บางส่วนของหน่วยงานอาจหมดความจำเป็นในการใช้คนทำหน้าที่ เช่น การส่งจดหมายทางไปรษณีย์สามารถแทนที่ได้โดยการใช้อินเตอร์เน็ตแทน

ลักษณะขององค์การเสมือนจริง
1. การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
2. สังคมกับชุมชนเครือข่ายซึ่งมีการร่วมมือและพึ่งพากัน
3. ความยืดหยุ่น (Flexibility)
4. ความไว้วางใจ (Trust)
5. การบริหารตนเอง (Self-Management)
6. ขอบเขตขององค์การไม่แน่ชัด (Unclear Boundary)
7. ไม่มีสถานที่ตั้งขององค์การ (Location less)
รูปแบบองค์กรเสมือนจริง
องค์การเสมือนจริง(Virtual Organization)
องค์การบริหารตนเอง(Self Organization)
คุณภาพ(Quality Organization): (เฉลิมพงศ์ มีสมนัย สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)<< เอกสารเพิ่มเติม>>

สาเหตุของการเกิดองค์การเสมือนจริง
องค์การเสมือนจริงเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ลูกค้าและคนทำงาน ดังกล่าวต่อไปนี้

1. การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
2. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ลูกค้า
4. คนทำงาน

การประยุกต์แนวคิดองค์การเสมือนจริงองค์การเสมือนจริงมีรูปแบบที่หลากหลาย โดยอาจจะเป็นรูปแบบของการตั้งเป็นบริษัทเล็กๆ ที่เจ้าของทำงานที่บ้านโดยใช้ห้องนอนเป็นที่ทำงาน หรือทำงานในรถยนต์ขณะเดินทางไปติดต่อรับงาน ทั้งนี้โดยอาจจะจ้างเลขานุการให้ทำงานให้ที่บ้าน และอาจมีการจ้างแบบรับช่วง (Subcontract) กรณีถ้าจำเป็น

เปรียบเทียบลักษณะขององค์การแบบดั้งเดิมและองค์การเสมือนจริง



ประโยชน์ขององค์การเสมือนจริงประโยชน์ขององค์การเสมือนจริง ได้แก่

1. องค์การ
2. ผลผลิต
3. คนทำงาน
4. ระยะทาง
5. สถานที่ตั้ง

ข้อจำกัดขององค์การเสมือนจริงองค์การเสมือนจริงมีข้อจำกัด ดังนี้